โครงงาน





แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์

1.              โครงงานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง กระถางต้นไม้ลดโลกร้อน

2.              ชื่อผู้เสนอโครงงาน
2.1       นายเนติพงค์                 หลงหา                  เลขที่ 5
2.2       นางสาวนิตยา               หอวัฒนกุล           เลขที่ 29
2.3       นางสาวนัธริยา            ชำนาญเพาะ         เลขที่ 37
2.4       นางสาวคุณิตา              สมศักดิ์                  เลขที่ 38

3.              ครูที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูเชษฐา         เถาวัลย์ และ คุณครูโสภิตา          สังฆะโณ

4.              หลักการและเหตุผล
ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวกคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้นโลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน )ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปีซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน
ปัจจุบันหนึ่งสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อนคือการใช้วัสดุที่ทำมาจากพลาสติกที่ เป็นวัสดุที่ย่อยสลายยาก และต้องใช้เวลาหลายสิบปีทีเดียวกว่าพลาสติกเหล่านี้จะย่อยสลาย ที่สำคัญ พลาสติก ยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโลกอยู่ในขณะนี้หลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างหันมาช่วยกันรณรงค์ในเรื่องของการลดสภาวะโลกร้อนด้วยกันหลายวิธี และวิธีลดการใช้พลาสติกก็เป็นอีกแนวทางในการรณรงค์ในเรื่องดังกล่าว
ในยุคโลกาภิวัตน์นี้นั้นผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกสามารถรับรู้ข่าวสารจากสื่อต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ทั้งสื่อทางโทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต โดยสื่อที่เห็นกันอย่างแพร่หลายอีกสิ่งหนึ่งคือเว็บบล็อคที่สามารถศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สามารถนำไปเผยแพร่ได้อย่างง่ายดาย โดยมีการออกแบบที่มีความสะดวกและสวยงาม
หลังจากที่กลุ่มผู้เขียนได้ตระหนักถึงภัยร้ายดังกล่าว และได้ค้นคว้าศึกษาวิธีการลดภาวะโลกร้อนจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งพบว่าการทำกระถางต้นไม้ลดโลกร้อนที่ผลิตมาจากวัสดุธรรมชาตินั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยลดการใช้วัสดุที่ทำจากพลาสติกได้ และถือเป็นของใกล้ตัวกับมนุษย์ในปัจจุบันที่สามารถทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก ซึ่งการปลูกต้นไม้ในปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต่อโลกและมนุษย์ เพราะการปลูกต้นไม้ด้วยวัสดุธรรมชาตินี้ นั้นช่วยไม่ทำให้เกิดก๊าซพิษในอากาศขณะทำลาย อีกทั้งยังช่วยตกแต่งสวนให้สวยงาม ช่วยทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เป็นต้น โดยวัสดุที่ใช้คือหญ้า และกากมะพร้าว โดยมีความสนใจที่ทำให้อยากทราบว่ากระถางต้นไม้ที่ทำจากกากมะพร้าวหรือหญ้าแห้งนั้น กระถางต้นไม้แบบใดมีความคงทน และอุ้มได้ดีกว่า จึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อศึกษาค้นคว้าและทำการทดลอง รวมถึงการนำเสนอผ่านทางหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มีการออกแบบให้น่าชมและเมื่อได้อ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ง่าย ซึ่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถศึกษาได้ง่ายเหมาะกับผู้สนใจเป็นอย่างมาก

5.              หลักการ ทฤษฏีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.              ความหมายและประโยชน์ของเว็บบล็อก
2.              บล็อกซอฟต์แวร์และภาษา HTML
3.              Social Media , Word Wide Web และ Domain name
4.              ความหมายของสภาวะโลกร้อน
5.              ผลกระทบและการป้องกันสภาวะโลกร้อน
6.              สภาวะโลกร้อนกับการแก้ปัญหาของประเทศไทย
7.              ปลูกต้นไม้และกระถางต้นไม้ลดสภาวะโลกร้อน

6.              วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.              เพื่อให้สามารถนำเสนอโครงงานฉบับนี้ผ่านทางเว็บบล็อคได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสวยงาม
2.              เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของภาวะโลกร้อน
3.              เพื่อศึกษาประโยชน์และความสำคัญของป่าไม้และธรรมชาติ
4.              เพื่อต้องการทำกระถางต้นไม้ที่จัดทำขึ้นไปใช้ได้จริงและให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5.              เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานนี้ไปเผยแพร่กับคนทุกคน
6.              เพื่อลดก๊าซพิษที่เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน

7.              ขอบเขตของโครงงาน


                 1.              ศึกษาวิธีการใช้ การออกแบบ และวิธีการนำเสนอของเว็บบล็อค

                 2.              ศึกษาปัญหาและสาเหตุของภาวะโลกร้อน ประโยชน์และความสำคัญของป่าไม้และธรรมชาติ จัดทำ กระถางต้นไม้และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
                 3.              เวลาของการดำเนินงาน คือ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ และสามารถเสร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
                4.               แหล่งค้นคว้าคือห้องสมุด อินเทอร์เน็ต และผู้ที่มีความรู้ด้านเกษตรกรรม


8.             เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
1.              โปรแกรม Photoshop และ Photo Scape  สำหรับรูปภาพและตกแต่งรูปภาพ และรายละเอียด
2.              โปรแกรม Microsoft word 2010  ใช้ในการจัดทำเอกสาร
3.              ใช้รูปแบบของบล็อกในการนำเสนอ ในรูปแบบของเว็บไซต์  เพื่อเป็นแหล่งความรู้และข้อมูลเรื่องกระถางต้นไม้ลดภาวะโลกร้อน

9.              ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

การดำเนินการ
วันที่/ระยะเวลาที่ดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
           กำหนดหัวข้อโครงงาน
12 พ.ย. 2555 – 16 พ.ย. 2555
นิตยา
          เสนอโครงร่างโครงงาน
23 พ.ย. 2555 – 7 ธ.ค. 2555
เนติพงค์ , นัธริยา
          รวบรวมข้อมูล
15 ธ.ค. 2555 – 10 ม.ค. 2556
เนติพงค์
          ศึกษาวิธีการทำเว็บบล็อค
15 ธ.ค. 2555 – 18 ธ.ค. 2555
นิตยา , คุณิตา
          ออกแบบ/จัดทำหนังสือเว็บ   บล็อค
19 ธ.ค. 2555 – 20 ม.ค. 2556
นิตยา , คุณิตา
         ตรวจสอบ/แก้ไขความถูกต้อง ครั้งที่ 1
21 ม.ค. 2556 – 5 ก.พ. 2556
นัธริยา , เนติพงค์
         ตรวจสอบ/แก้ไขความถูกต้อง ครั้งที่ 2
11 ก.พ. 2556 – 15 ก.พ. 2556
นัธริยา , เนติพงค์
        นำเสนอโครงงาน
12 ก.พ. 2556 – 15 ก.พ. 2556
นัธริยา , คุณิตา
        ประเมินผลโครงงาน
15 ก.พ. 2556 – 22 ก.พ. 2556
นัธริยา


10.       ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.              สามารถนำเสนอโครงงานฉบับนี้ผ่านทางเว็บบล็อคได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสวยงาม
2.              รู้วิธีการใช้ การออกแบบและการสร้างเว็บบล็อค
3.              สามารถนำเสนอผลงานผ่านรูปแบบเว็บบล็อคได้
4.              รู้ปัญหาและสาเหตุของภาวะโลกร้อน
5.              ทราบประโยชน์และความสำคัญของป่าไม้และธรรมชาติ
6.              สามารถทำกระถางต้นไม้และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
7.              สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ได้
8.              สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น